ท.ญ.นพมณี วงษ์กิตติไกรวัล ทันตแพทย์กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า การใช้น้ำยาบ้วนปากมีไว้เพื่อกำจัดกลิ่นปาก แต่ที่จริงแล้ว เป็นเพียงการกลบกลิ่นปาก ด้วยกลิ่นของน้ำยาในระยะสั้นเท่านั้น จากนั้นไม่นานก็กลับมามีกลิ่นปากเช่นเดิม
การใช้น้ำยาบ้วนปากติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ไปทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ดี ที่อาศัยอยู่ในปากให้ตายไปด้วย อาจนำมาซึ่งเชื้อราในช่องปาก ทำให้ตุ่มรับรสของลิ้นเพี้ยนไป มีสีเคลือบผิวฟันที่เปลี่ยนแปลง หรือทำให้เกิดหินปูนได้ง่าย
ส่วนยาสีฟันที่อ้างว่าว่า สามารถลดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นปากได้ นั้น ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า ยาสีฟันจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในปากได้ ซึ่งประสิทธิภาพของยาสีฟันที่อ้างว่าลดแบคทีเรีย ไม่แตกต่างกับการแปรงฟันด้วยยาสีฟันอะไรก็ได้อย่างถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟันในซอกฟันส่วนที่แปรงไปไม่ถึง
กลิ่นปาก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ผลิตก๊าซในกลุ่มซัลเฟอร์ กลิ่นปากยังเกิดได้จากผู้ป่วยมีโรคอื่น ๆ อยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคกรดไหลย้อน หากรักษาโรคเหล่านั้นกลิ่นปากก็จะหายไป รวมทั้งกลิ่นปากจากโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทนต์ โรคเหงือก ฟันผุ ฯลฯ
วิธีการตรวจว่ามีกลิ่นปากจริงหรือไม่นั้น ทำได้โดยการสังเกต จากคนรอบข้าง หรือเอาช้อนมาขูดลิ้นแล้วทิ้งไว้ 5 วินาที จากนั้นนำมาดม หากพบว่ามีกลิ่นเหม็นก็แนะนำให้มาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจเช็กปัญหาในช่องปาก
การใช้น้ำยาบ้วนปากติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ไปทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ดี ที่อาศัยอยู่ในปากให้ตายไปด้วย อาจนำมาซึ่งเชื้อราในช่องปาก ทำให้ตุ่มรับรสของลิ้นเพี้ยนไป มีสีเคลือบผิวฟันที่เปลี่ยนแปลง หรือทำให้เกิดหินปูนได้ง่าย
ส่วนยาสีฟันที่อ้างว่าว่า สามารถลดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นปากได้ นั้น ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า ยาสีฟันจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในปากได้ ซึ่งประสิทธิภาพของยาสีฟันที่อ้างว่าลดแบคทีเรีย ไม่แตกต่างกับการแปรงฟันด้วยยาสีฟันอะไรก็ได้อย่างถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟันในซอกฟันส่วนที่แปรงไปไม่ถึง
กลิ่นปาก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ผลิตก๊าซในกลุ่มซัลเฟอร์ กลิ่นปากยังเกิดได้จากผู้ป่วยมีโรคอื่น ๆ อยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคกรดไหลย้อน หากรักษาโรคเหล่านั้นกลิ่นปากก็จะหายไป รวมทั้งกลิ่นปากจากโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทนต์ โรคเหงือก ฟันผุ ฯลฯ
วิธีการตรวจว่ามีกลิ่นปากจริงหรือไม่นั้น ทำได้โดยการสังเกต จากคนรอบข้าง หรือเอาช้อนมาขูดลิ้นแล้วทิ้งไว้ 5 วินาที จากนั้นนำมาดม หากพบว่ามีกลิ่นเหม็นก็แนะนำให้มาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจเช็กปัญหาในช่องปาก
อ้างอิง : http://www.redcross.or.th/home
ที่มาจาก : http://www.zazana.com/Article/id7521.aspx
ที่มาจาก : http://www.zazana.com/Article/id7521.aspx
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น