ความเกี่ยวเนื่อง : ถ้าคุณจัดคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันระหว่างศัพท์แล้ว
เขียนออกมาเป็นแผนผังจะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
เขียน : การนำคำศัพท์นั้นมาใช้จะทำให้คุณจำได้ฝังใจยิ่งขึ้น ลองเขียนแต่งประโยคโดยนำศัพท์ใหม่ที่เรียนนั้นมาประกอบหรือแต่งเรื่องโดยใช้กลุ่มคำศัพท์หรือสำนวนที่เรียนอยู่
วาดรูป : ดึงวิญญาณศิลปินในตัวคุณออกมาใช้ โดยการวาดรูปที่แสดงถึงศัพท์ที่คุณเรียนอยู่ ภาพที่คุณวาดจะช่วยกระตุ้นความทรงจำถึงศัพท์นั้นในอนาคต
แสดง : แสดงท่าทางประกอบคำศัพท์หรือสำนวนที่คุณกำลังเรียนอยู่ หรือจินตนาการว่าคุณจะแสดงออกอย่างไรในสถานการณ์ที่คุณต้องใช้ศัพท์คำนั้น
สร้าง : ออกแบบ flashcards ศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมความหมายแล้วเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง ทำเล่มใหม่ขึ้นทุกอาทิตย์และอย่าลืมทบทวนอันเก่าไปพร้อมๆ กันด้วย
ความสัมพันธ์ : กำหนดแต่ละสีให้แต่ละคำศัพท์ ความสัมพันธ์ของแต่ละคู่จะช่วยให้คุณจำศัพท์นั้นได้แม่นขึ้นเมื่อนึกถึงคำนั้นในคราวต่อไป
ฟัง : นึกถึงศัพท์คำอื่นที่ออกเสียงคล้ายๆ กับคำศัพท์ใหม่ที่คุณพยายามเรียนอยู่ ใช้ความสัมพันธ์ตรงจุดนี้ในการช่วยให้คุณจำการออกเสียงของคำใหม่นั้น
เลือก : จำไว้ว่าการเรียนในหัวข้อที่คุณชอบหรือสนใจจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น ฉะนั้นคุณควรใส่ใจในการเลือกคำศัพท์ที่คุณคิดว่ามีประโยชน์หรือน่าสนใจ เพราะแม้แต่กระบวนการเลือกคำที่จะเรียนก็มีผลให้คุณจำได้แม่นและเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน !
ข้อจำกัด : คุณก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนเราจะจำศัพท์ที่มีอยู่ในดิกชันนารี่ทั้งหมดได้ในวันเดียว เพราะฉะนั้นจำกัดการเรียนศัพท์ใหม่แค่วันละ 15 คำก็พอแล้ว ซึ่งถ้าพยายามจำให้มากคำเกินไปกว่านี้แทนที่มันจะทำให้คุณรู้สึกมั่นใจกลับจะทำให้คุณสมองตื้อแทน
สังเกต : พยายามสังเกตหาคำศัพท์ที่คุณกำลังเรียนอยู่เมื่ออ่านหรือฟังภาษาอังกฤษ
ที่มาจาก : http://www.zazana.com/Article/10-id4626.aspx
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น